วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เรื่อง โทรทัศน์ TELEVION

     ครับท่านผู้ที่ติดตามอ่านบทความ เรื่องกล้องวงจรปิด ครับท่านผู้อ่านบทความ โทรทัศน์ในปัจจุบันนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โทรทัศน์ขาวดำ Black and White  และโทรทัศน์สี Color Television สำหรับโทรทัศน์สีนั้นยังสามารถแบ่งออกได้อีกหลายประเภท เช่น โทรทัศน์สีทั่วไป โทรทัศน์สีทีใช้ระบบรีโมทคอนโทรล โทรทัศน์สีที่มีจอแบบโค้ง และแบบจอแบน โทรทัศน์สีนั้นยังมีหลายขนาดแตกต่างกันไป ตั้งแต่ขนาดเล็กๆ สำหรับติดตั้งหน้ารถยนต์ หรือ ขนาด 14 " ขนาด 20" และขนาดอื่นๆ เป็นต้น (การดูขนาดจอรับโทรทัศน์สามารถรู้ได้ด้วยการวัดทแยงมุมนะครับ)

ส่วนประกอบ
   โทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ที่มีวงจรสลับซับซ้อน ดังนั้นส่วนประกอบของโทรทัศน์พอสรุปได้ดังต่อไปนี้ คือ.
1. ส่วนประกอบภายนอก คือตัวโครงที่หุ้มห่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ จอภาพ ซึ่งจะมีการเคลือบสารพิเศษทางด้านในปุ่มหรือสวิตช์ต่างๆ และจุดเสียบสายอากาศเป็นต้น
2. ส่วนประกอบภายใน คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  ตัวรับสัญญาณ และตัวเปลี่ยนสัญญาณของภาพ และเสียงที่มาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นส่วนประกอบของจอรับภาพ และระบบเสียง รวมทั้งลำโพง เป็นต้น

การทำงาน
   การทำงานของโทรทัศน์นั้น จะเริ่มต้นเมื่อคลื่นของภาพ และเสียงที่ออกมาจากสถานีส่งโทรทัศน์ ส่งออกมาตามอากาศมาเข้าที่ตัวรับสัญญาณคือเสาอากาศที่อยู่ตามบ้านของเรา สัญญาณคลื่นก็จะส่งมาตามสายเข้าสู่เครื่อง นั้นก็คือโทรทัศน์ นั้นเอง จากนั้นเครื่องรับโทรทัศน์ก็จะทำหน้าที่แยกคลื่นภาพและคลื่นเสียงออกจากกัน สัญญาณคลื่นภาพก็จะถูกส่งไปยังหลอดภาพ เพื่อเปลี่ยนสัญญาณคลื่น เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ส่วนสัญญาณคลื่นเสียงจะถูกส่งเข้าตัวขยาย จากนั้นตัวขยายส่งไปยังลำโพงสืบต่อไป
 การเปลี่ยนสัญญาณคลื่นเป็นสัญญาณไฟฟ้า ที่ขั่วของหลอดภาพจะก่อให้เกิดลำอิเล็กตรอนจากขั่วหนึ่งไปยังอีกขั่วหนึ่ง นั่นคือ จอภาพที่ด้านในเคลือบสารชนิดหนึ่ง เมือลำอิเล็กตรอนวิ่งไปกระทยจอภาพก็จะทำให้เกิดเป็นภาพโดยการถ่ายเท พลังงานในลักษณะนิ่ง เรียกว่า การวาดภาพ โดยกรวดเป็นเส้นทาง ตามแนวนอนจำนวน 525 เส้น หรือ  625 เส้น (แบบ PAL เท่ากับ 525 เส้น แบบ NTSC 625 เส้น) ก่อให้เกิดรูปภาพออกมาโชว์ด้านหน้าของจอภาพตามที่เราเห็นอันเนื่องมาจากการเรืองแสงของสารเคลือบนั่งเอง

การเลือกใช้อย่างถูกวิธี
  การเลือกใช้โทรทัศน์นั้น เราจะต้องคำนึงถึงความต้องการใช้งานเป็นอันดับแรก โดยให้พิจารณาขนาด โดยให้ท่านพิจารณาจากขนาดและการใช้กำลังไฟฟ้าไว้ด้วย ดังนี้
1. โทรทัศน์สีระบบเดียวกัน แต่ขนาดต่างกัน ย่อมใช้พลังงานที่แตกต่างกันนั่นหมายหมายความว่า โทรทัศน์สีที่มีขนาดใหญ่ และมีราคาแพงกว่าจะใช้กำลังไฟฟ้ามากกว่าโทรทัศน์สีที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น
 - ระบบทั่วไป ขนาด  16" จะเสียค่าไฟฟ้าที่มากว่าขนาด 14" ร้อยละ 5 และขนาด 20" จะเสียค่าไฟฟ้ามากกว่าขนาด 14" ร้อยละ 30
- ระบบรีโมทคอนโทรล ขนาด 16" จะเสียค่าไฟฟ้ามากว่าขนาด 14" ร้อยละ 5 และขนาด 20" จะเสียค่าไฟฟ้ามากกว่าขนาด 14" ร้อยละ 34
2. โทรทัศน์สีที่มีระบบรีโมทคอนโทรล จะใช้กระแสไฟฟ้ามากกว่าโทรทัศน์สีระบบทั่วไปที่มีขนาดเดียวกัน เช่น
- โทรทัศน์สีขนาด 16" ระบบรีโมทคอนโทรล เสียค่าไฟฟ้ามากกว่าระบบธรรมดา ร้อยละ 5 และระบบโทรทัศน์สีขนาด 20" ระบบรีโมทคอนโทรลเสียค่าไฟฟ้ามากว่าระบบธรรมดา ร้อยละ 18 เป็นต้น

วิธีประหยัดพลังงาน
 1. ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องเล่นวิดีโอ (CD, DVD, อื่นๆ)ในขณะที่ท่านเลิกใช้งาน เพราะว่าเครื่องเเล่นประเภทนี้ยังคงทำงานตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเสียค่าไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น
2. ให้ท่านพิจารณาเลือกดูรายการเอาไว้ล่วงหน้า ดูเฉพาะรายการที่ท่านเลือกเท่านั้น หากว่าท่านดูรายการเดียวกันขอแนะนำว่าท่านควรเปิดโทรทัศน์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น
3. ท่านอย่าเสียบปลั๊กโทรทัศน์ทิ้งไว้  เพราะว่าโทรทัศน์นั้นมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงระบบภายในอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากมีฝนตกฟ้าผ่าลงเครื่องโทรทัศน์เกิดขึ้น
4. ท่านควรปิดโทรทัศน์เมื่อท่านไม่มีคนดู หรือให้ท่านตั้งเวลาปิดเครื่องโดยอัตโนมัติ เพื่อเป็นการประหยัดไฟฟ้า

การดูแลรักษา
 การดูแลรักษาและใช้โทรทัศน์อย่างถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้โทรทัศน์ของท่านเกิดความคงทน แล้วระบบการรับภาพได้ชัดเจนแล้ว ยังช่วยยืดอายุการทำงานให้ยาวนานยิ่งขึ้นแล้ว นอกจากนั้นยังช่วยประหยัดพลังงานได้อีกด้วย
1. ให้ท่านใช้ผ้านุ่มๆแห้เช็ดตัวตู้โทรทัศน์ ส่วนจอภาพควรใช้ผงซักฟอกชนิดอ่อนๆหรือน้ำยาทำความสะอาดกระจก เช็ดทำความสะอาดบ้าง คำเตือน ท่านอย่าลืมถอดปลั๊กไฟออกก่อนทำความสะอาดนะครับ
2. อย่าใช้เครื่องมือถอดด้านหลังเครื่องด้วยตนเอง เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อโทรทัศน์ได้
3. ควรเลือกใช้เสาอากาศภายนอกบ้านที่มีคุณภาพดี และติดตั้งอย่างถูกวิธี และถูกหลักวิชาการ เช่นหันเสาไปทางที่ตั้งของสถานีในลักษณะให้ตั้งฉาก เป็นต้น
4. ควรวางโทรทัศน์ไว้ในจุดที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี และตั้งห่างจาก ผนัง หรือมูลี่ อย่างน้อยประมาณ 10 เซ็นติเมตร เพื่อให้เครื่องสามารถระบายความร้อนได้สะดวก
5. ไม่ควรปรับจอภาพให้สว่างมาจนเกินไป เพราะจะทำให้หลอดภาพอายุสั้น และสิ้นเปลื่องพลังงานไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น

ความปลอดภัยในการใช้โทรทัศน์
1. ให้ปิดโทรทัศน์ ถอดปลั๊กไฟฟ้าออก และขั่วสายอากาศออก ในขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง เพื่อป้องกันโทรทัศน์ชำรุด
2. อย่าดูโทรทัศน์ใกล้จนเกินไป จะทำให้ท่านเสียสายตา หรือได้รับรังสีและคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามากจนเกินไป
3.วางโทรทัศน์ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเท่ได้สะดวก
4. อย่าถอดซ่อมด้วยตัวเอง เนื่องจากภายในมีระบบไฟฟ้าแรงสูงอยู่ด้วย
5. ท่านควรให้เสาอากาศหางจากแนวสายไฟฟ้าแรงสูง เพื่อป้องกันไม่ให้เสาล้มพาดสายไฟฟ้าแรงสูงและอาจเกิดอันตรายได้
6. ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยควรตั้งเสาอากาศให้มั่นคง แข็งแรง แล้วยึดด้วยลวดไม่ตำ่กว่าสามจุด เพื่อป้องกันไม่ให้เสาล้ม
7. ไม่ควรตั้งเสาอากาศโทรทัศน์ให้สูงเกินควรจำเป็นเพื่อหลีเลี่ยงฟ้าผ่าลงเสา
8.อย่าเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ในขณะที่ตัวเปียกชื้น และไม่ควรจับเสาอากาศโทรทัศน์ด้วย

จอโทรทัศน์แบบ LCD LED และ Plasma
1. จอภาพ LCD
       LCD ( Liquid Crystal Display) จอแสดงภาพด้วยคริสตัลเหลว จะใช้หลอดไฟ CFL ( Cathode Fluorescent Lamp) หลอดฟลูออเรสเซนต์คาโทด โดยมีลักษณะเป็นหลอดผอม คล้ายๆหลอดกาแฟดโดยเรียงในแนวนอนยาวลงมาเป็นตัวกำเนิดแสง และเสดงภาพโดยเริ่มจากแหล่งกำเนินแสงไฟสว่างหน้าจอ ( Backlight) ที่ส่อแสงไปที่ผลึกเหลว มีลักษณะคล้ายๆเยลลี่ที่หยอดไว้ระหว่างช่องกระจก จะถูกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ส่งผลให้โมเลกุลของคริสตัลเหลวในส่วนของจุดภาพพิกเซล (pixel) นั้น ซึ่งหมุนเป็นมุม 90 องศา เพื่อให้เกิดได้จุดสว่างและจุดมืด  หลักการทำงานของจอภาพ LCD นั้น คือ การบิดตัวโมเลกุล แล้วเอาเงาของมันใช้งาน จอภาพ LCD นั้น จะมีหลายขนาด โดยไล่ตั้งแต่ 14" ไปจนถึง 108"

ข้อดีของจอภาพ LCD
-อาการภาพค้างติดหน้าจอ ( Burn-In) จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย
-จอภาพ LCD ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า
-ใช้สีที่สว่าง สดใส เหมาะกับการแสดงสีกราฟฟิก เช่น การ์ตูน สารคดี ละคร เป็น
-เหมาะกับการนำไปเป็นจอ ( Monitor ) ของคอมพิวเตอร์
-เหมาะสำหรับใช้ในห้องที่สว่างสูง เช่น ห้องนั่งเล่น หรือห้องรับแขก

ข้อเสียของจอภาพ LCD
-ไม่สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวเร็วๆได้ดี เนื่องจากมีความเร็วในการเปลี่ยนสีจอ (Response Time) เร็วที่สุด เพียงแค่ 2 ไมโครวินาที เท่านั้น
-มีความคลาดเคลื่อนของสีเกิดขึ้น โดยเฉพาะสีแดง โทนสีผิว สีท้องฟ้าทะเล
-ไม่สามารถแสดงสีดำสนิทได้ เนื่องจากไฟสว่างหน้าจอเปิดตลอดเวลาในขณะที่เครื่องทำงาน ทำให้มีแสงขาวเล็ด ลอด ออกไปในฉากที่เป็นสีดำ จึงทำให้ฉากสีดำเป็น ดำสว่าง ไม่ใช่ดำมืด อย่างที่ควรจะเป็น

จอภาพ LED 
  จอภาพ LED (Light Emitting Diode) เป็นหลอดไฟขนาดเล็ก ซึ้งใช้หลอด LED เป็นตัวกำเนินแสง และมีคริสตัลเหลว เป็นผลึกแข็งเหลว 3 สี ทั้งสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว คอยบิดตัวเป็นองศา เพื่อให้แสงจากหลอด LED ส่องลอดผ่านออกมาเป็นสีส้มต่างๆ

ข้อดีของจอภาพ LED
-ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่าทั้ง 2 ชนิดที่ผ่านมา
-ลักษณะจอมีขนาดบางกว่าจอ LCD และจอ Plasma
-ความสว่างและสีสันค่อนข้างสดกว่า

ข้อเสียขอจอภาพ LED 
-ราคาสูงกว่า จอภาพ LCD และจอภาพ Plasma

จอภาพพลาสมา (Plasma)
   จอภาพพลาสมา เป็นจอภาพแสดงภาพโดยการใช้แสงที่เกิดจากการแตกตัว ( Ionized) ของก๊าซนีออน (Neon Gas)เพื่อแสดงผลของภาพออกมาที่แผงหน้าจอ โดยภายในจอภาพมีองค์ประกอบที่เต็มไปด้วยก๊าซนีออน ซึ่งแต่ละพิเซลกำเนินแสงได้เอง โทรทัศน์แบบจอพลาสมาจะเน้นทำแต่ขนาดใหญ่ๆ อย่าง 42" จนถึงขนาดอื่นๆที่ใหญ่กว่า

ข้อดีของจอภาพพลาสมา
-มีค่าความมืดความสว่าง ( Contrast ) ที่สูงกว่า ทำให้เห็นมิติของภาพได้ดีกว่า
-มุมมองจอภาพที่กว้างกว่าจอภาพ LCD
-ให้สีที่เป็นธรรมชาติ มากกว่าสีออกโทนอุ่น
-สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวเร็วๆ ได้ดีกว่า เนื่องจากมีความเร็วในการเปลี่ยนสีของจอ .001 ไมโครวินาที (ms) จึงเหมาะกับการใช้รับชมภาพยนต์ที่มีการต่อสู้ (Action) และการรับชมกีฬาเป็นอย่างมาก
-อายุการใช้งานยาวนานกว่าที่ 100,000 ชั่วโมง
-สามารถแสดงระดับพื้นสีดำได้ดีกว่า

ข้อเสียของจอภาพพลาสมา
-อาการภาพหน้าจอค้างมีโอกาสเกิดขึ้นได้ถ้าเปิดภาพนิ่งเป็นเวลานานๆ ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับการนำไปเป็นจอคอมพิวเตอร์
-ไม่เหมาะสำหรับใช้ในห้องที่มีความสว่างสูงๆ เช่น ห้องนั่งเล่น หรือกลางแจ้ง
-หน้ากระจกของจอรับภาพ ทำให้เกิดการสะท้องแสงเป็นเงาได้
-ค่าตรวจซ่อมยังมีราคาสูง ช่างต้องเปลี่ยนหลอดภาพทั้งหมด และทั้งชุด
-ใช้กระแสไฟฟ้ามากกว่าทั้งจากโทรทัศน์เอง และการทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น เพราะว่าจอภาพพลาสมามีความร้อนออกมาจากตัวเครื่องมากกว่า







ขอสรุปบทความสักเล็กน้อย
1.ที่เขียนมาทั้งหมดเป็นเพียงแต่ไกค์ไลน์ เท่านั้น
2.จนอะไรก็ให้จนได้ แต่ขอไว้อย่างเดียว อย่าจนปัญญา แล้วท่านจะหาทรัพย์สินได้เอง นะครับ
3.กล้องวงจรปิดมันช่วยท่านได้นะครับ http://www.cctvbangkok.com





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น